เลซิติน เป็นไขมันในกลุ่มฟอสโฟไลปิด (Phospolipid) ซึ่งอุดมด้วยสาร ฟอสฟาทิดิล โคลีน (Phosphatidyl Choline) ที่มีคุณสมบัติสามารถเข้ากันได้ กับน้ำและน้ำมัน ถือเป็นตัวทำละลายที่ดี ซ่วยในการละลายโคเลสเตอรอลในเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ จึงสามารถลดการสะสมของไขมันที่ตับ ลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเหลือ แก้ปัญหา ท่อน้ำนมอุดตัน
เลซิติน ทั่วไป1200 มก. จะให้สาร ฟอสฟาทิดิล โคลีน 180 มก. แต่หากเป็น เลซิตินชนิดโคลีนสูง จะให้สารฟอสฟาทิดิล โคลีน ได้ถึง192 มก. เลยทีเดียว และจะมีประสิทธิภาพทำงานได้ดี เมื่อทำงานร่วมกับ แคโรทีนอยด์ 4 ชนิด และแคโรทีนอยด์ จะมีประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นได้ดียิ่งขึ้น เมื่อ ทำงานร่วมกับ วิตามินอี
****เลซิตินเพียงอย่างเดียว ลดปัญหาสุขภาพ สมอง หัวใจ มะเร็งตับและผิวพรรณได้เพียง 30% แต่หากเป็น เลซิตินชนิด ฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง + วิตามินอี และ แคโรทีนอยด์ 4 ชนิด อาทิ อัลฟาแคโรทีน, เบต้าแคโรทีน, แกรม่าแคโรทีน และไลโคปีน จะลดปัญหาดังกล่าวได้ เกือบ 100% "Interaction Effect"
เลซิตินและแคโรทีนอยด์ เหมาะสำหรับ สตรีที่มีปัญหา ท่อน้ำนมอุดตัน และ ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่นระบบ การย่อยอาหาร, จุกเสียดประจำ อ่อนเพลียง่าย, ไขมันพอกตับ, ลดการสะสมของไขมัน เช่น ไขมันหน้าท้อง, ท่อน้ำนมอุดตันจากไขมัน, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง , ระบบหลอดเลือดและหัวใจ, ไวรัสตับอักเสบ บีและตับอักเสบซี ,ผู้ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไปควรรับประทาน
----------------------------------------
แหล่งสารอาหารเลซิตินทั่วไปตามธรรมชาติ !!!
1. ร่างกายมนุษย์ ปกติร่างกายสามารถผลิตเลซิตินได้เอง ที่"ตับ" แต่หากร่างกายขาดสารตั้งต้น เช่น กรดไขมันจำเป็น , วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ ก็จะส่งผลให้ ตับ ไม่สามารถผลิต เลซิติน ได้เพียงพอ
2.แหล่งอาหารธรรมชาติ พบได้ทั้งในพืช และ สัตว์ โดยจะพบได้มากในไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าว แต่การ บริโภคอาหารเหล่านี้จำนวนมาก ก็จะทำให้ได้รับโคเลสเตอรอลสูงตามมาด้วย
3.จากการสกัด (อาหารเสริม) ปัจจุบันการสกัดเลซิตินเข้มข้น มักได้จาก ไข่แดง และถั่วเหลือง ซึ่งเลซิตินที่ สกัดได้จากถั่วเหลืองจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันสุขภาพได้กว่าเลซิตินจากแหล่งอื่น เพราะ มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมากที่สุดและปราศจากโคเลสเตอรอล นั่นเอง
---------------------------------------
ลดภาวะไขมันพอกตับ ทีจากการศึกษาวิจัย กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำโดยตรงเป็นเวลานาน (Long term parenteral nutrition) พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัญหา ระดับโคลีนในเลือดต่ำ และ พบว่า ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมี "ภาวะตับอักเสบ" จึงได้ทำการทดลองให้เลซิตินในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับเลซิติน มีระดับโคลีนในเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และ มีการสะสมของไขมันที่ตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับเลซิติน
เนื่องจาก เลซิติน จะลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันภายในตับ ทำให้ไขมันไม่เกิดการรวมตัว ไขมันจึงไม่ไปพอกที่เซลตับ อีกทั้งยังเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ จึงทำให้ไม่เกิดการสะสมไขมันที่ตับ และ ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะไขมันพอกตับ
ป้องกันโรตตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง จากงานวิจัยในลิงบานูนพบว่า เลซิติน สามารถป้องกันโรคตับแข็ง จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเลซิติน จะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ คอลลาจีเนส ในตับ จึงลดการสร้างพังผืดในตับ ลดการสะสมของไขมันในตับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น ของไขมันบริเวณตับ จึงไม่เกิดการทำลายเซลล์ และป้องกันภาวะจากการอักเสบของตับ
จากกราฟข้างต้นจะเห็นว่า การดื่มเหล้าเป็นประจำ เกือบทั้งหมดจะพัฒนา ไปสู่ตับแข็งภายใน 6 ปี ส่วนการดื่มเหล้าและได้รับ เลซิติน (ฟอสฟาทิดิลโคลีน) จะมีไม่การเป็นตับแข็งเลย
เพราะเลซิตินเพียงอย่างเดียว ลดปัญหาสุขภาพ สมอง หัวใจ มะเร็งและผิวพรรณได้เพียง 30% แต่หากเป็น เลซิตินชนิด ฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง + วิตามินอี และ แคโรทีนอยด์ 4 ชนิด อาทิ: อัลฟาแคโรทีน, เบต้าแคโรทีน, แกรม่าแคโรทีน และไลโคปีน จะลดปัญหาดังกล่าวได้ถึง 100%
จากงานวิจัย การใช้แคโรทีนอย์ ร่วมกับ วิตามินอี จะส่งเสริมประสิทธิภาพ ปกป้องเซลล์ตับจากอนุมูลอิสระ และลดการเกิดมะเร็งตับในคนไข้ไวรัสตับอักเสบ ได้ถึง 50%
เลซิติน กับการบำรุงสมอง
ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำ และลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น ปัจจุบัน เลซิตินถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์ ในการบำบัดโรคทางสมอง เช่น โรคพาร์คินสัน (Parkinson) , โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer's Disease)ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่เกิดจกเซลล์ประสาทขาดสาร "อะซิทิลโคลีน" หรือ คนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม โดยพบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะความจำเสื่อม จะมีอาการดีขึ้น เมื่อทานเลซิตินวันละ 25 มก. ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน และในผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ที่ได้รับโคลีน เป็นระยะเวลา 6 เดือน จะช่วยให้ความจำดีขึ้น ได้ หรือ ใช้โคลีน ร่วมกับยาที่ใช้รักษา (Cholinesterase Inhibitors) จะทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำเพิ่มขึ้นได้
ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล และ หลอดเลือดหัวใจ
เลซิติน ช่วยละลายไขมัน ป้องกันการตกตะกอนของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตัน ซึ่งเป็นการป้องกัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
จากการวิจัย ทดลอง และผู้มีภาวะระดับโคเลสเตอรอลสูง พบว่า เลซิตินจะลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล และลดระดับไขมันชนิดไม่ดี(ไขมันเลว) LDL และ ลดไตรกลีเซอไรด์ และยังช่วยเพิ่มระดับ (HDL) ไขมันชนิดดีได้อีกด้วย จากคุณสมบัตินี้ ทำให้ เลซิติน ช่วยลดภาวะเสี่ยง ต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเฉียบพลัน
กราฟแสดงระดับโคเลสเตอรอลของผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนทานเลซิติน 1เดือน และระยะเวลา รับประทาน 2 เดือน : งานวิจัย Ref; Cholesterol Vol 2010, Article ID 824813, 4pages
ลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
เลซิติน จะเพิ่มความสามารถ ในการทำละลายของน้ำดี ทำให้สารแขวนลอยนน้ำดีไม่จับตัว เป็นก้อนจนกลายเป็นนิ่ว เพิ่มการหลั่งและการไหลเวียนของน้ำดี และลดค่าดัชนีไขมันอิ่มตัว
ช่วยลดไขมันสะสม เช่น ไขมันหน้าท้อง, ท่อน้ำนมอุดตัน
โดยเลซิติน จะช่วยละลายไขมัน และเผาผลาญได้ดี จึงลดการสะสมของไขมัน เช่นไขมันหน้าท้อง,ไขมันที่ท่อน้ำนม
ท่อน้ำนมอุดตัน, สาเหตุจากน้ำนมแม่มีความเข้มข้นมากเกินไป เกิดไขมันบางส่วนจับยึดพื้นผิวในกระเปาะน้ำนม สะสมในท่อน้ำนมได้ โดยจะพอกพูนขึ้นจนเป็นก้อนแข็งบริเวณเต้านม โดยเลซิตินจะทำหน้าที่ ละลายไขมัน ที่จับตัวอุดตันอยู่นั้น ละลายหมดไปในที่สุด
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน , ป้องกัน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน
เลซิติน + มีเดียมเชนไตรกลีเซอร์ไรด์ (Meduim chain triglyceride, MCTs)
เป็นกรดไขมัน กรดลอริก (Lauric acid) มักพบในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและถูกเผาผลาญได้ดี เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย กรดลอริกจะถูกเปลี่ยนเป็นโมโนลอริน (Monolaurin) ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรค์ ชนิดเดียวกันกับที่พบในน้ำนมแม่แรกคลอด หรือที่เรียกกันว่า "นมน้ำเหลือง" ซึ่งเป็นสารสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ให้กับทารกแรกคลอดในระยะ 6 เดือนแรกของชีวิต
โมโนลอริน จะมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะ ที่สามารถต้านเชื้อโรค เชื่้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย โปรโตชัว และพยาธิ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน (อ้างอิง งานวิจัย ที่ 1)